วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคข้อเสื่อม แก้ด้วยกลูโคซามีนซัลเฟต


โรคข้อเสื่อม แก้ด้วยกลูโคซามีนซัลเฟต

โรคข้อเสื่อม
"นั่งก็เจ็บ ลุกก็เจ็บ เดินก็เจ็บ" 
คงไม่ดีแน่ถ้ามีอาการแบบนี้ "ข้อเข่าเสื่อม" เป็นอาการที่เกิดขึ้นมากในกลุ่มประชาชนชาวเอเชีย คาดว่า ปัจจุบันจะมีคนไทยมีปัญหาโรคข้อเสื่อม กระดูกพรุนประมาณ 7 ล้านคน กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ผู้สูงอายุ
 "ข้อ" เปรียบเหมือนบานพับในร่างกาย หากใช้งานมากโอกาสที่จะเสื่อมเร็วกว่าปกติก็เกิดขึ้นได้มาก โรคข้อเข่าเสื่อม มักพบในผู้สูงอายุ และเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เจอในคนอ้วนมากกว่าคนผอม และสามารถพบในผู้ที่ชอบเล่นกีฬาหนักๆ รวมทั้งโรคอื่นๆ เช่น โรคเกาต์ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และการติดเชื้อในข้อเข่า 
น.พ.พัชรพล อุดมเกียรติ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์ศิริราชพยาบาล อธิบายให้ฟังว่า ภายในหัวเข่าของทุกคนจะมีกระดูกอ่อนหุ้มที่ปลายข้อกระดูกบริเวณที่จะสัมผัสกันหนาประ มาณ 3-4 มิลลิเมตร โดยจะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน หากเข่าต้องรับน้ำหนักมากหรือมีแรงเบียดกดทับมาก ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีมาก กระดูกอ่อนผิวข้อก็จะถูกทำลายไป ดังนั้น เจ็บแปลบคือสัญญาณเตือน


เข่าพังซ่อมไม่ได้
"ข้อเข่าไม่เหมือนกระดูกชนิดอื่นในร่างกายที่เมื่อรับแคลเซียมเข้าไปในร่างกาย ก็ซ่อมแซม สะสม แคลเซียมไว้ได้ แต่ข้อเข่าเมื่อเกิดการสึกหรอแล้ว จะค่อยๆ สึกหรอไปเรื่อยๆ จึงต้องใช้อย่างทะนุถนอม ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ เช่น ลดน้ำหนัก 5% ของน้ำหนักขณะนั้น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ก่อการบาดเจ็บ และควรพบแพทย์เมื่อมีอาการปวดหัวเข่า เพื่อให้สามารถดูแลและยืดอายุการใช้งานข้อเข่าได้นานขึ้น และบางครั้งอาการเจ็บเข่าก็เป็นสัญญาณบอกของโรคอื่นได้ โดยเฉพาะอาการข้อสะโพกอักเสบ ซึ่งมักพบในคนอายุน้อยมากกว่า คิดเป็น 3-4%" 


กายวิภาคของข้อกระดูก
ข้อบริเวณต่างๆ จะมีลักษณะเป็นข้อต่อระหว่างกระดูก 2 ชิ้น มาอยู่ใกล้กัน และเคลื่อนไหวไปพร้อมๆกันในบริเวณข้อนี้จะประกอบไปด้วย กระดูกอ่อน ( Articular cartilage ) ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆที่อยู่บนส่วนปลายของกระดูก ซึ่งจะมี ไกลโคซามีโนไกลแคน ( Glycosaminoglycans ) เป็นส่วนประกอบ หน้าที่ของกระดูกอ่อนชั้นบางๆนี้ก็คือ จะทำให้ผิวสัมผัสระหว่างกระดูก 2 ชิ้นมีความเรียบ เมื่อมีการเคลื่อนไหวก็จะเกิดการติดขัดน้อยที่สุด
อาการที่มักจะปรากฎของโรคข้อเสื่อม
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อต่อ ปวดลึกๆภายในข้อ และเคลื่อนไหวลำบาก เนื่องจากกระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่อ (Articular cartilage) เป็นแผล สาเหตุเนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปกดทับ หรืออายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การสร้างมวลกระดูกอ่อ่น (Articular Cartilage) ลดลง

อาการอื่นๆที่บ่งบอกว่าเป็นโรคข้อเสื่อม
  1. มักจะปวดมากเวลางอเข่า เช่น นั่งคุกเข่า พับเพียบ นั่งขัดสมาธิ ก้าวขึ้นบันได
  2. เวลาเหยียดเข่าตรงจะปวดน้อยลง
  3. เมื่อจับเข่าโยกไปมา มักจะมีเสียงดัง กรอบแกรบ
  4. ในรายที่เป็นมาก อาจจะมีอาการบวม และน้ำขังอยู่ภายในได้
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม
  1. ชายหญิงที่อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่อายุน้อยกว่านี้ก็สามารถเกิดโรคข้อเสื่อมขึ้นได้ โดยพบว่า ก่อนอายุ 45 ปี การเกิดโรคข้อเสื่อมจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่เมื่ออายุเลย 45 ปี อัตราการเกิดโรคข้อเสื่อมจะเท่ากัน
  2. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  3. ผู้ที่มีประวัติบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ
การักษา
  1. การรักษาทางกายภาพ ได้แก่ การออกกำลังกาย การลดน้ำหนัก
  2. การรักษาด้วยการรับประทานยา
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
การรับประทานยา
  1. เพื่อลดอาการปวดให้แก่คนไข้ โดยการใช้ยาแก้ปวดและยาลดอาการอักเสบ วิธีนี้ไม่สามารถแก้ไขที่สาเหตุของโรคได้ แต่มีข้อดีคือ ลดอาการปวดได้รวดเร็ว
  2. ช่วยให้โครงสร้างของข้อกระดูกกลับคืนสู่ปกติ วิธีนี้จะสามารถรักษาที่สาเหตุของโรคได้ แต่มีข้อด้อยคือ ลดอาการปวดได้หลังจากการใช้ยาไปแล้ว 2 สัปดาห์ จึงแนะนำให้ทานร่วมกับ ยาลดอาการปวดใน 2 สัปดาห์แรก เพื่อลดอาการปวดในช่วงต้น ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ กลูโคซามีน

การเกิดโรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ปกติแล้วร่างกายคนปกติไม่เป็นโรคข้อเสื่อม การสร้างมวลกระดุกอ่อนจะสมดุลย์กับเอนไซม์ที่มีหน้าที่ทำลายมวลกระดูกอ่อน


แต่ในร่างกายคนที่เป็นโรคข้อเสื่อมพบว่า การสร้างมวลกระดูกอ่อ่นลดลงและเอนไซม์ที่มีหน้าที่ทำลายมวลกระดุกอ่อ่นจะทำงานมากกว่าปกติ ทำให้เกิดรอยแผลถลอดบนผิวของกระดูกที่สัมผัสกันทำให้เรารู้สึกปวด และขัดเวลาเดน หากเป็นมากจะมีอาการบวมแดงที่ข้อและไม่สามารถเดินได้หรือเดินไม่สะดวก


การรักษาในปัจจุบันด้วยการใช้ กูลโคซามีน
เนื่องจากกูลโคซามีน มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แก้ไขโดยตรงยังต้นเหตุของโรคข้อเสื่อม จึงเป็นที่นิยมในวงการแพทย์ในปัจจุบัน ในการพิจารณาเลือกเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุของคนไข้

กลไกการทำงานของกูลโคซามีนเป็นอย่างไรในการรักษาโรคข้อเสื่อม
กูลโคซามีนจะกระตุ้นการสร้าง แมททริกซ์ (Cartilage matrix ) จึงมีผลต่อการสร้างกระดูกอ่อนซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆที่อยู่บนส่วนปลายของกระดูก และลดการทำงานของ เอนไซม์ ที่ย่อยสลายส่วนประกอบของ แมททริกซ์ ผลจากกลไกในการสร้างและลดการทำลายจึงส่งผลให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ผู้ป่วยก็จะมีอาการเคลื่อนไหวข้อที่ดีขึ้น อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในการเคลื่อนไหวก็จะลดลงไปในที่สุด

การรักษาในปัจจุบันด้วยการใช้กลูโคซามีน


ขนาด 500 มก.
ขนาด 1,500 มก.
ระยะเวลาทานยา
1 เม็ด 3 เวลา
วันละ 1 ซอง
ต่อเนื่องอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์

การศึกษาทางคลีนิก
คนไข้ใน 80 คนที่มีอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม ศึกษา 30 วัน ขนาดที่ใช้ 500 มก. วันละ 3 เวลา ผลการศึกษา 70% ของคนไข้ มีอาการดีขึ้นจากการข้อตึง บวม ปวด และสามารถขยับได้ดีขึ้น ภายใน 2 สัปดาห์ สรุปได้ว่ากูลโคซามีน มีฤทธิ์เด่นในการป้องกันการเสียหายของข้อ มากกว่าการรักษาอาการปวดและอักเสบ
ใช้กูลโคซามีน ขนาด 1500 มก. วันละ 1 ครั้ง ในคนไข้ ปวดเข่า 202 คน เป็นเวลาต่อเนื่อง 3 ปี ผลการศึกษาในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จำนวน 106 คน ครบ 3ปี ช่องว่างระหว่างข้อจะแคบลง ในกลุ่มที่ได้รับยา กูลโคซามีน จำนวน 106 คน ครบ 3 ปี ช่องว่างระหว่างข้อไม่แคบลงเลย



เพื่อเป็นคำตอบที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพของข้อให้สามารถใช้งานได้ดีและอย่างมีคุณภาพ ควรออกกำลังกายและใช้งานในการเคลื่อนไหวต่างๆอย่างถูกท่าถูกวิธี รวมถึงการดูแลตนเองด้วยวิธีการรักษาโดยการเลือกรับประทาน กูลโคซามีน เพื่อที่จะช่วยรักษาสมดุลย์ของการสร้างและการทำลายของ กระดูกอ่อน ที่บุบอยู่บนส่วนปลายของข้อกระดูก เพียงเท่านี้คุณก็ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของโรคและสามารถดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม ได้ด้วยตนเอง

Call : ชนิตา (085-3303622 / 086-3661318)
http://chanita.epayfriend.com
Msn : ch_anita@hotmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น